ในปี 1958 ภาพ “Afghan girl” กับดวงตาสีเขียวที่สะกดเข้าไปในจิตวิญญาณคนทั้งโลกบนปกของ National Geographic เป็นสิ่งที่โดดเด่นและทำให้คนหลงใหล ในสามสิบเอ็ดปีต่อมา มีเด็กสาวอีกคนในหน้านิตยสารที่มีความน่าสนใจเช่นเดียวกัน เธอเป็นเด็กหญิงกับผมสีชมพูยุ่งเหยิง สวมเล็คกิ้งสีชมพูและจ้องมองมาอย่างเด็ดเดี่ยว เด็กผู้หญิงที่ใช้ชีวิตเป็นเด็กผู้ชายจนถึงปี 2012 Avery Jackson อายุ 9 ขวบ คนข้ามเพศคนแรกบนปกนิตยาสารที่เก่าแก่กว่า 128 ปี ในฉบับพิเศษที่อุทิศเพื่อพูดถึงหัวข้อปัญหาทางเพศจากทั่วโลก
“หนูแค่อยากจะเป็นตัวเอง” Avery กล่าวกับหนังสือพิมพ์ USA TODAY “หนูเป็นผู้หญิงคนนึง” Avery ไม่เคยตั้งใจที่จะเป็นผู้เปิดประเด็นเรื่องเพศสภาพ แต่นั้นทำให้ผู้คนมากมายตระหนักถึงความสำคัญของมันและตื่นตัวสำหรับเรื่องนี้ นี้คือเหตุผลว่าทำไม National Geographic จึงตัดสินใจนำเสนอเรื่องราวของ “gender revolution” ในฉบับเดือนมกราคม

Susan Goldberg หัวหน้าบรรณาธิการนิตยสารกล่าวว่า “ดูเหมือนว่าการถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องเพศสภาพเป็นเรื่องสำคัญที่ถูกพูดถึงในระดับชาติ มันถูกนำไปพูดถึงทั้งในระบบการศึกษา ด้านกฎหมายและการทหาร ทุกๆ ที่คุณจะเห็นการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้” นอกจากนี้ยังมีสารคดีฉายประกอบเรื่อง “Gender Revolution, A Journey with Katie Couric” ซึ่งจะฉายในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ บนช่อง National Geographic
อะไรคือเรื่องราวจุดเริ่มต้นเกี่ยวกับพลังของเด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่งที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวบางอย่างในปีที่ผ่านมา บรรณาธิการกล่าวว่ามันค่อนข้างซับซ้อนมากเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กเป็น นิตยสารจึงตัดสินใจค้นหาความจริงเรื่องเพศสภาพผ่านหลายแง่มุมทั้งด้านวัฒนธรรม สังคม วิทยาศาสตร์ และ “เพื่อนมนุษย์” (Humanize) ที่เกี่ยวข้องกับผู้คนในชีวิตประจำวัน
การสำรวจการปฏิวัติเรื่องเพศสภาพ : Susan Goldberg
นี่เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่จะเริ่มต้นมองมันให้เป็นธรรมชาติ “พวกเราคิดว่า Avery เป็นเด็กที่เข้มแข็ง มีพลัง … และเราเชื่อมั่นในการตัดสินของเธอ เธอเป็นบุคคลที่เป็นสัญลักษณ์ใหม่ของการถกเถียงเรื่องเพศสภาพ เธอทำให้ผู้คนมองเห็นและตื่นตัวเกี่ยวกับความซับซ้อนของปัญหานี้”

เรื่องราวของ Avery
Debi Jackson อายุ 42 ปี คุณแม่ของ Avery เล่าถึงลูกของเธอในตอนเริ่มแรกว่า “ตอน 2 ขวบจากเด็กที่มีความสุขก็เริ่มเปลี่ยนไป เขาบึ้งตึงและหดหู่” ระหว่างอายุ 3 และ 4 ขวบ Avery เริ่มเกลียดการไปโรงเรียนอนุบาล คุณนาย Jackson กล่าวว่า “ลูกของเธอเริ่มพูดเกี่ยวกับการตายบ่อยๆ” แต่เมื่อ Avery สวมชุดเจ้าหญิงความมืดมนก็เหมือนถูกยกออกไป คุณนาย Jackson กล่าวเพิ่มเติมว่า ในวันหนึ่งตอนที่พวกเขาเดินเล่นช็อปปิ้งในวันหยุดพักผ่อน เธอพูดคุยกับ Avery และลูกก็ตอบกลับมาว่า “แม่เรียกหนูแบบเด็กผู้ชาย แม่คิดว่าหนูเป็นเด็กผู้ชาย แต่แม่รู้ใช่ไหมว่าข้างในหนูเป็นเด็กผู้หญิง” ลูกชายกับสามีของเธอทั้งคู่คิดว่า Avery เป็นเกย์ แต่มันก็เป็นสิ่งที่ครอบครัวโอเค พวกเขาไปพบกุมารแพทย์ ทำการตรวจและไม่พบความผิดปกติใดๆ ในที่สุดครอบครัวจึงตัดสินใจว่าจะให้ Avery แต่งตัวเป็นเด็กผู้หญิงในทุกวันหยุดสุดสัปดาห์

และหลังจากนั้นก็มีอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่สำคัญเกิดขึ้น คุณนาย Jackson เล่าว่าเธอกับ Avery จะไปงานเลี้ยงวันเกิดในบ่ายวันอาทิตย์และเธอก็บอกให้ลูกใส่ชุดแบบเด็กผู้ชายสักพัก “ไม่” Avery ตอบ “หนูไม่ต้องการหลอกว่าหนูเป็นเด็กผู้ชาย” ในที่สุด Avery ก็สวมชุดผู้หญิงไปร่วมงานและไม่มีเพื่อนคนไหนรังเกลียด ในเช้าวันจันทร์ลูกจึงใส่ชุดผู้หญิงไปโรงเรียน “สีชมพูตั้งแต่หัวจรดเท้า” คุณนาย Jackson เล่า “และลูกก็ตื่นเต้นมากกับการไปโรงเรียนในครั้งนั้น”
เมื่อตอนที่หนูน้อยอายุ 7 ขวบได้กล่าวไว้ในวิดิโอที่อัพโหลดลง YouTube ว่า “คุณสามารถเป็นแบบที่คุณอยากเป็น หนูภูมิใจว่าหนูเป็นใคร หนูข้ามเพศและหนูเป็นเด็กผู้หญิง”
ครอบครัว Jackson มักจะสอนลูกสาวของเขาให้ “ฉลาด กล้าหาญและแสดงออกอย่างเป็นธรรมชาติ” นั้นเป็นการตีความที่ร้ายกาจที่ได้จากหน้าปกนิตยสารเล่มนี้และตัวของ Avery เองก็แสดงให้เห็นถึงความมั่นใจและความไร้กังวล มันยังคงมีส่วนของวงล้อมอนุรักษ์นิยมที่เธอก็ยอมรับมัน “พวกเรายังมีโอกาสที่จะเปลี่ยนความคิดและจิตใจพวกนี้ได้” คุณนาย Jackson ซึ่งกลายมาเป็นผู้สนับสนุนสิทธิของบุคคลข้ามเพศกล่าว “พวกเราจะพยายามอธิบายและแสดงให้เห็นในผู้คนที่ยังไม่เข้าใจมัน”
มากกว่าการข้ามเพศ
Georgiann Davis อายุ 36 ปี ผู้ที่มีความเข้าใจเชิงลึกเกี่ยวกับเรื่องราวของเพศสภาพ ได้แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่กระทบต่อคนมากมาย Davis ได้เล่าเรื่องราวลงในนิตยสารว่า เธอเกิดมาพร้อมกับภาวะเพศกำกวม (intersex) ที่รู้จักกันในชื่อ CAIS (complete androgen insensitivity syndrome : อาการฮอร์โมนกระตุ้นเพศชายไม่ตอบสนอง) เธอเกิดมาพร้อมอวัยวะเพศหญิง ภาวะลูกอัณฑะไม่ได้อยู่ในถุงอัณฑะ และโครโมโซม XY (โครโมโซมเพศชาย) ตอนอายุ 13 ปี ขณะกำลังวิ่งเล่นเธอรู้สึกปวดท้องและเมื่อไปพบแพทย์ก็ไม่พบความผิดปกติใดๆ เว้นแต่ว่าเธอมีอัณฑะไม่ใช่รังไข่ ครอบครัวของเธอและหมอได้ตัดสินใจที่จะปกปิดเรื่องนี้ไม่ให้เธอรู้ “พวกเขาบอกฉันว่าฉันเป็นมะเร็งรังไข่ระยะเริ่มต้นและควรจะผ่าตัดก่อนอายุ 18 ปี” เธอเล่า การผ่าตัดมะเร็งในวัย 17 ปี แต่จริงๆ นั้นเป็นการผ่าตัดเอาอัณฑะออก เธอไม่รู้ความจริงจนกระทั้งเธอก้าวเข้าสู้วัยผู้ใหญ่และเธอเริ่มพบหมอคนใหม่เรื่องราวจึงถูกเปิดเผยจากบันทึกทางการแพทย์ที่ผ่านมาของเธอ “ฉันคิดว่าจะได้อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโรคมะเร็งของฉัน แต่มันก็ถูกเปิดเผยเมื่อฉันเห็นคำว่า ‘testicular feminization syndrome’ ในวินาทีที่รู้ความจริงฉันคิดว่าฉันแค่สับสน…นั้นเป็นสิ่งที่ฉันโกหกตัวเอง” ในตอนแรก Davis ไม่ยอบรับสิ่งที่เกิดขึ้น เธอต้องใช้เวลามากถึง 7 ปี เธอถึงจะสามารถเล่าเรื่องราวของเธอได้และมีความรู้สึกสะดวกใจต่อคนอื่นที่เป็น intersex

“เรื่องราวของผู้ที่มีภาวะ intersex ทำให้ผู้คนเข้าใจว่าการระบุเพศสภาพเป็นเรื่องทางกายภาพ” Josh Safer ผู้ศึกษาเชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อกล่าว “มันเป็นความผิดพลาดอย่างมากที่เพศสภาพถูกควบคุมในลักษณะนี้”
เพศสภาพและอนาคต
ในวงการแพทย์มีการคิดค้น พัฒนา ในหัวข้องเรื่องเพศสภาพอย่างมาก แต่ศูนย์การแพทย์ของบุคคลข้ามเพศที่ Boston Medical Center นายแพทย์ Safer กล่าวว่ามันยังคงมีช่องว่างเกี่ยวกับความรู้ในด้านการแพทย์เรื่องประชากรข้ามเพศอีกมาก ถ้าเด็กข้ามเพศสามารถเลือกเพศของตนเองได้ตั้งแต่ยังเด็ก การใช้ฮอร์โมนรักษาตั้งแต่เริ่มเข้าวัยรุ่นจะทำให้สะดวกสบายและปลอดภัยเมื่อพวกเขาเติบโตต่อไป “ต้องยอมรับว่าการยอมรับในความแตกต่างของผู้คนยังมีไม่เพียงพอ” นายแพทย์ Safer กล่าวเสริม “คุณจะไม่ได้รับการเริ่มต้นรักษาด้วยฮอร์โมนจากแพทย์เพราะพวกเขาไม่รู้ว่าจะใช้สรรพนามอะไรกับคุณ”
Davis ผู้ช่วยศาสตร์จารย์ด้านสังคมศาสตร์ แห่ง University of Nevada, Las Vegas และผู้เขียน Contesting Intersex: The Dubious Diagnosis กลับมองเห็นความหวังในความกล้าหาญของเด็กรุ่นใหม่ๆ “ตอนที่ผมอายุ 25 ปี ผมไม่เคยพูดถึงมันเลย ผมอายมากเกี่ยวกับเรื่องนี้” เขากล่าว “ทุกวันนี้มีเด็กมากมายที่มีพลังทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง” หนึ่งในคนรุ่นใหม่นั้นก็คือ Avery Jackson สาวน้อยที่กล้าหาญ
นอกจากเรื่องราวเหล่านี้นิตยสารในหัวข้อพิเศษในเดือนมกราคม จะมีการรวบรวมคำศัพท์ต่างๆ มากกว่า 20 คำ เกี่ยวกับเรื่องเพศ รวมถึงการพูดถึงเพศสภาพในด้านต่างๆ เช่น ในด้านการเมืองและในเรื่องสิทธิที่บางคนยังคงกลัวที่จะพูดถึง Goldberg บรรณาธิการนิตยสารหวังว่าผู้คนที่ได้อ่านนิตยสารฉบับนี้จะได้เข้าใจเรื่องเพศสภาพอย่างกว้างขวาง “พวกเราพูดเกี่ยวกับเรื่องเพศสภาพมาเนิ่นนาน แต่มันก็ยังคงเป็นหัวข้อที่ต้องพูดไปอีกยาวนานเลย” เธอกล่าวปิดท้าย