คนรักเพศเดียวกัน อยู่จุดไหนในระบบกฏหมายไทย ??

0
2784

DudeAdam - Same Sex Rights101

Photo Credit : https://www.flickr.com/photos/infomatique/17178848645

อาจดูพาดหัวหนักไปเสียหน่อย แต่เชื่อเถอะว่าประเด็นนี้เป็นเรื่องที่ Dude ใส่ใจและให้ความสำคัญไม่แพ้กัน หากมองกันในเรื่องของสิทธิและความเท่าเทียม Dude เชื่อว่า พวกเราไม่ได้ต้องการแค่ทะเบียนสมรส แต่สิ่งที่เราต้องการมากอย่างหนึ่งคือการมีสิทธิ์ในร่างกายและทรัพย์สินหากวันหนึ่งได้ตกลงใช้ชีวิตคู่กันอย่างเปิดเผย แบบคู่สมรสต่างหาก

สำหรับสิทธิ์ในร่างกาย Dude  ขอยกตัวอย่างกรณีหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อนานมาแล้วที่ฟังแล้วก็ใจหาย นั่นคือมีคู่รัก หญิง-หญิง อายุ 30+ (ขอใช้นามสมมุติว่า AและB) คู่หนึ่งที่ตัดสินใจใช้ชีวิตและทำธุรกิจร่วมกันอย่างเปิดเผยแบบคู่ร่วมชีวิตอยู่ที่กรุงเทพฯ อยู่กินบ้านเดียวกันโดยที่พ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายก็รับทราบและเข้าใจในความสัมพันธ์ (พ่อแม่ทั้งสองฝ่ายอยู่ต่างจังหวัด)

DudeAdam - Same Sex Rights100

Photo Credit : https://www.flickr.com/photos/aliciajrose/13453437414

วันหนึ่งในระหว่างที่ A และ B กำลังเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว แต่กลับโชคไม่ดีประสบอุบัติเหตุจนทำให้ฝ่าย A ต้องเข้ารับการผ่าตัดโดยด่วน ซึ่งตามกฏหมายและข้อปฏิบัติทางการแพทย์แล้ว การจะผ่าตัดได้นั้นต้องมีการเซ็นต์ยินยอมจากเจ้าตัวหรือว่าญาติที่มีความเกี่ยวข้องกันทางกฏหมาย (พ่อ แม่ คู่สมรส บุตร(บรรลุนิติภาวะ))

ซึ่งในเหตุการณ์นั้น B ก็ได้บอกกับทีมแพทย์ว่า ตนเองเป็นแฟนของ A ที่ตกลงอยู่กินและทำธุรกิจร่วมกันอย่างชีวิตคู่ โดยที่ทางครอบครัวทั้งสองฝ่ายก็รับทราบและเข้าใจดี แต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้การผ่าตัดสามารถเกิดขึ้นได้ (ในภาวะนั้นอาจจะด้วยข้อจำกัดอะไรก็ตาม อาจมีเรื่องของการป้องกันตัวเองของหมอด้วย เพราะถ้าเกิดผ่าแล้วคนไข้เสียชีวิตหมอก็ต้องรับผิดชอบ ซึ่ง Dude เองก็เข้าใจทั้งสองฝ่าย) ทำให้ B ต้องรีบแจ้งทางครอบครัวของ A เพื่อให้รีบเดินทางมาเซ็นต์ยินยอมในเวลานั้น

ซึ่งถือว่าเป็นโชคดีที่ทางครอบครัว A สามารถเดินทางมาได้ทันเวลาและเซ็นต์ยินยอม ทำให้การผ่าตัดรักษาสามารถดำเนินไปได้อย่างทันท่วงที

DudeAdam - Same Sex Rights102

สำหรับสิทธิในทรัพย์สิน … เป็นที่ทราบกันดีว่า หากคู่สมรส ชาย หญิง ตัดสินใจจดทะเบียนสมรสกัน ทรัพย์สินที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นจะต้องถือเป็นสินสมรสที่ทั้งคู่ต่างมีสิทธิ์ในการบริหารจัดการเท่าเทียมกัน แต่อย่างสมมุติในกรณี คู่รัก ชาย-ชาย ที่ทั้งคู่ตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกัน อยู่กินกันอย่างคู่รัก โดยที่ทางครอบครัวทั้งสองฝ่ายก็ยินยอม

หากวันหนึ่ง นาย A ต้องการจะทำประกันชีวิต เพื่อวางแผนอนาคต เพื่อว่าวันหนึ่งหากตนเองเป็นอะไรไป นาย B ซึ่งเป็นคู่รักจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งถือเป็นเรื่องที่เข้าใจได้และคู่รักส่วนใหญ่ก็ทำกัน แต่สำหรับกลุ่มคนรักเพศเดียวกันแล้ว การมอบสิทธิ์ในการรับเงินประกันไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะทั้งคู่ไม่ได้มีความสัมพันธ์กันทางกฏหมาย ซึ่งนี่ถือเป็นจุดหนึ่งที่ Dude มองว่าแท้จริงแล้วการเรียกร้องสิทธิให้กลุ่ม LGBT เป็นเรื่องที่สำคัญสังคมไม่ควรมองข้าม

DudeAdam - Same Sex Rights103

ในต่างประเทศที่มีการตระหนักถึงปัญหาในจุดนี้ มักจะมีการขับเคลื่อนแนวคิดเพื่อสร้างความเท่าเทียมกันของสิทธิให้แก่คนทุกกลุ่ม ซึ่งนั่นเป็นความฝันเล็กๆ ของเว็บไซต์ DudeAdam เช่นกันในการขับเคลื่อนและช่วยเหลือการสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นในสังคมไทยต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้